Loading...
+66 (0) 2354-8543-9
aqhibkkproject@mahidol.ac.th
หน้าหลัก
เกี่ยวกับ AQHI
เกี่ยวกับ AQHI
ความเป็นมาของโครงการ
วารสารวิจัย
การคำนวณค่า AQHI
แนวทางปฏิบัติ
ดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพ (AQHI) คืออะไร ?
ดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพ (AQHI) เป็นเครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสะท้อนความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกิดจากการรับสัมผัสสารมลพิษที่แตกต่างกันมากกว่า 1 ชนิด โดยวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลสารมลพิษและข้อมูลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ศึกษา หาความสัมพันธ์ ค่าคงที่ และพัฒนาสมการคาดการณ์ผลรวมความเสี่ยงสุขภาพจากสารมลพิษทางอากาศในพื้นที่
ดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพ (AQHI) เป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวังและเตือนภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ให้เกิดการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์เชิงสุขภาพ รวมถึงพิจารณาเลือกแนวทางการป้องกันตนเองในการรับสัมผัสสารมลพิษในช่วงเวลาวิกฤตได้อย่างเหมาะสมต่อไป
ค่า AQHI ที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครประกอบด้วยสารมลพิษ 4 ชนิด คือ PM2.5, PM10, SO2 และ O3 การคัดเลือกสารมลพิษสำหรับการสร้างค่า AQHI ของงานวิจัยนี้จะแตกต่างจากการศึกษาในพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากการใช้ข้อมูลสุขภาพในพื้นที่ประกอบกับข้อมูลมลพิษทางอากาศและข้อมูลอุตุนิยมวิทยา
การแบ่งระดับค่า AQHI จะมีการแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับความเสี่ยงต่ำ (Low Risk) ค่า AQHI อยู่ในช่วง 1-3 ระดับความเสี่ยงปานกลาง (Moderate Risk) ค่า AQHI อยู่ในช่วง 4-6 ระดับความเสี่ยงสูง (High Risk) ค่า AQHI อยู่ในช่วง 7-10 และระดับความเสี่ยงสูงมาก (Very High Risk) ค่า AQHI มากกว่า 10 ขึ้นไป
AQHI ใช้สื่อสาร ความเสี่ยงเชิงสุขภาพจากการรับสัมผัสมลพิษทางอากาศ และเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมของประชาชนกลุ่มต่างๆ
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับภาคีเครือข่าย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูลและนวัตกรรมดิจิตอล (DIDA), สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร, สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และ ศูนย์ธรรมาภิบาลข้อมูลและยุทธศาสตร์อัจฉริยะ
2024 Data Governance and Strategic Intelligence Center | Mahidol University
, All right reserved.
จำนวนผู้เยี่ยมชม (ครั้ง)